วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

พุหางนาค ปุษยคีรีแห่งพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง




     เพลง พุหางนาค ที่นี่มีรอยยิ้ม  http://www.youtube.com/watch?v=WI4CDOwwFmg&feature=youtu.be
                   
         ถ้ากล่าวถึง...พื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (สพพ.๗) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) หลายคนก็คงจินตนาการถึงการเที่ยวชมแหล่งโบราณสถานและโบราณวัตถุสมัยทวารวดี และละเลียดทัวร์ชมเจดีย์หมายเลขต่าง ๆ ซึ่งกระจายอยู่โดยรอบพื้นที่ และเดินทางตามเส้นทางบุญเพื่อ ไหว้พระออมบุญ ๕ ขุนเขา คือ วัดเขาถ้ำเสือ วัดเขาทำเทียม วัดเขาพระศรีสรรเพชญาราม (วัดเขาพระ) วัดเขากำแพง และวัดเขาดีสลัก ซึ่งถูกขนานนามว่า ๕ ขุนเขาบุษยคีรี ซึ่งคำว่า บุษยคีรี แปลว่า ขุนเขาแห่งดอกไม้ อบอวนไปด้วยดอกสุพรรณิการ์สีเหลืองทอง (สมอฝ้าย) และดอกงิ้วป่าสามสี และพันธุ์ไม้ป่านานาชนิดที่ขึ้นอยู่บนก้อนหิน ตามพงหญ้า และต้นไม้ป่ากระจัดกระจายไปรอบพื้นที่
                      
         แต่ไม่ค่อยมีคนรู้ว่า พื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง มีที่ท่องเที่ยวหลากหลาย วันนี้...ฉันขออาสาเป็นมัคคุเทศก์ พาทุกท่านไปชม สวนหินธรรมชาติดึกดำบรรพ์อายุหลายพันปี และพันธุ์ไม้โบราณ หาดูได้ยากที่ “สำนักสงฆ์ถ้ำพุหางนาคห่างจากอำเภออู่ทองประมาณ ๘ กิโลเมตร หรือขับรถมาจากอำเภอแค่ ๕ นาที ถ้าเริ่มต้นการเดินทางมาจากวงเวียนหอนาฬิกา ให้เดินทางตามเส้นทางมาที่วัดเขาพระศรีสรรเพชญาราม ประมาณ ๒ กิโลเมตร ให้สังเกตจะมีป้ายซ้ายมือบอกทางให้ไปพุหางนาค วิ่งไปตามทางอีกราว ๒ กิโลเมตร จะเจอสามแยก ถ้าเลี้ยวซ้ายไปวัดเขาทำเทียม (ไม่ต้องเลี้ยว) ให้ขับรถตรงไปสำนักปฏิบัติธรรมพุหางนาค ประมาณ ๑ กิโลเมตร
                     


         ต้องขอบอกก่อนว่า ถ้าจะมาเที่ยวต้องให้เวลากับการท่องเที่ยว ๑ วันถึงจะเที่ยวหมดนะคะ เพราะจะเพลินเพลินไปกับสวนหินโบราณ พันธุ์ไม้โบราณ และฐานเจดีย์สมัยทวารวดีถึง ๑๒ เจดีย์ ซึ่งกรมศิลปากรพึ่งจะสำรวจฐานเจดีย์แล้วบันทึกพิกัดที่ตั้งเบื้องต้นไปไม่นานมานี้เอง เมื่อเดินทางมาถึง สำนักสงฆ์ถ้ำพุหางนาค ก็จะพบกับศาลาแสดงธรรมและที่พำนักสงฆ์ขนาดกะทัดรัด เงียบสงบอย่างไม่น่าเชื่อว่าอยู่ในใจกลางอำเภออู่ทอง ปัจจุบันมีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ ๒ รูป คือ พระอาจารย์เกรียงศักดิ์ กิตติโสภโณ หัวหน้าสงฆ์สำนักสงฆ์ถ้ำพุหางนาคและพระลูกวัดอีก ๑ รูป รวมทั้งมี นายภาคภูมิ  จิตต์โสภณ เป็นฝ่ายประสานงานและประชาสัมพันธ์สำนักสงฆ์ถ้ำพุหางนาค และเจ้าหน้าที่อาสาสมัครมัคคุเทศก์นำเที่ยวอีกประมาณ ๘ คน ที่แห่งนี้...เปิดให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เดือนกันยายน ๒๕๕๔ ตั้งแต่ ๐๘.๐๐
๑๗.๐๐ น. มีการจัดตั้ง ชมรมอาสาสมัครนำเที่ยวสำนักสงฆ์ถ้ำพุหางนาค พานักท่องเที่ยวเดินเที่ยวชมสวนหินธรรมชาติ บนพื้นที่ประมาณ ๕๐ ไร่ ซึ่งสถานที่ตั้งอยู่ในความดูแลของ วนอุทยานพุม่วง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภูเขา สำหรับพื้นที่ตามไหล่เขาซึ่งเป็นป่าปรงดึกดำบรรพ์และสวนหินขนาดเล็กอยู่ในความดูแลของป่าไม้จังหวัด ซึ่งสวนหินไม่ได้กระจัดกระจายอยู่แค่ในบริเวณสำนักสงฆ์ถ้ำพุหางนาคเท่านั้น แต่กระจายไปรอบวนอุทยานพุม่วงและรอยต่อป่าไม้จังหวัดที่มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ไพศาลมากกว่า ๑,๐๐๐ ไร่ ความจริงแล้ว...เส้นทางสวนหินพุหางนาค ถ้ามีการสำรวจเส้นทางให้คลอบคลุมจะสามารถเชื่อมต่อกับวัดถ้ำเสือ และวัดเขาทำเทียม เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่น่าสนใจไม่น้อยเลย ล่าสุดป่าไม้จังหวัดได้สนับสนุนให้ชาวบ้านร่วมกันจัดตั้ง “ประชาคมป่าไม้ชุมชนพุหางนาค” เนื่องจากชาวบ้านที่นี่เขารวมตัวกันช่วยปกป้องผืนป่าด้วยความเข้มแข็ง ทั้งช่วยทำแนวป้องกันไฟป่า สร้างจิตสำนึกให้ชาวบ้านเลิกตัดไม้ทำลายป่า และส่งเสริมให้ชาวบ้านตั้งกลุ่มนำเที่ยวพุหางนาค ซึ่งกำลังรอผลการอนุมัติการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ          ก่อนจะเริ่มเที่ยวสวนหิน...ก็รับศีลและรับพรจากพระสงฆ์ภายในสำนักสงฆ์พุหางนาคก่อนดีกว่าค่ะ เพราะว่าท่านจะเล่าประวัติความเป็นมาของ “พุหางนาค” คำว่า “พุ” หมายถึง น้ำที่ผุดออกมาจากหิน และไหลเอื่อย ๆ ลัดเลาะไปตามลำธาร ส่วนคำว่า “หางนาค” ถ้าพิจารณาจากลักษณะของสถานที่ตั้งแห่งนี้ มีลักษณะคล้ายพญานาค         จากการสัมภาษณ์ นายภาคภูมิ  จิตต์โสภณ ฝ่ายประสานงานและประชาสัมพันธ์สำนักสงฆ์ถ้ำพุหางนาค เล่าให้ฉันฟังว่า สวนหินแห่งนี้ตั้งอยู่ในหมู่ ๙ ตำบลอู่ทอง สันนิษฐานตามหลักธรณีวิทยาว่า หินเหล่านี้น่าจะเป็นหินภูเขาไฟ เนื่องจากบริเวณวัดเขากำแพงมีร่อยรอยของปล่องภูเขาไฟ คาดว่าลาวาจากปล่องภูเขาไฟน่าจะประทุ ทำให้มีเศษหินและเถ้าลาวากระจัดกระจายไปทั่วพื้นที่ เมื่อลาวาเย็นตัวลง ถูกสายลมและสายน้ำกัดเซาะไปตามกาลเวลา ก็เกิดเป็นรูปลักษณ์ต่าง ๆ ดูแล้วสวยงามแปลกตา มีทั้งรูปหัวใจ รูปบัลลังก์  รูปแผนที่ประเทศไทย แนวกำแพงหิน รูปเรือรบ รูปพญานาค เป็นต้น
                     
  โซนการท่องเที่ยวแบ่งเป็น ๒ โซน คือ โซนสวนหินภูเขาข้างบน และโซนสวนหินด้านล่าง


         โซนสวนหินภูเขาข้างบน มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจหลายจุด จุดแรกที่เดินทางเข้าไปคือ ถ้ำใหญ่ที่นั่นมีพระปางไสยาสน์ “หลวงพ่อปู่ใหญ่” ซึ่งชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างขึ้นเมื่อ ๖๐ ปีก่อน เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ชาวบ้าน หลังจากนั้นจึงเดินชมสวนหินเมืองลับแล จะต้องผ่าน ถ้ำลับแล เป็นจุดแรก ซึ่งเป็นหินสองก้อนพิงกัน มีช่องว่างให้คนเดินลอดผ่านเข้าไป เมื่อเข้าไปแล้วจะพบหินจำนวนมากตั้งอยู่กระจัดกระจาย บ้างก็อยู่โดดเดี่ยว บ้างก็พิงซ้อนกันเป็นรูปทรงต่าง ๆ และน่าพิศวงกับหินก้อนเล็ก ๆ ที่สามารถแบกน้ำหนักหินก้อนใหญ่ได้ รวมทั้งมหัศจรรย์ต้นไม้ขึ้นอยู่บนหิน ต้นโพธิ์ขึ้นอยู่บนก้อนหินปล่อยให้รากซอนไซไปตามที่ต่าง ๆ เพื่อดูดซึมอาหารเอาไปหล่อเลี้ยงลำต้น นับเป็นสวนหินธรรมชาติที่สวยงามมากที่สุดของภาคกลาง และเป็นสวนหินลาวาธรรมชาติที่อยู่ใจกลางพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง และไม่ไกลจากตัวเมืองสุพรรณบุรี สวนหินที่ชดช้อยงดงามนี้ ปกคลุมด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ มีพันธุ์ไม้ดึกดำบรรพ์ เช่น ต้นปรงอายุกว่าพันปี  พุทธป่า (จันทน์ขาว) จันทน์ผา (จันทน์ผาแดง) ซึ่งชอบขึ้นอยู่ตามหน้าผา สวนสลัดได และพืชสมุนไพร เป็น 
Unseen Destination and Unseen Tree          นอกจากนี้ ยังพบฐานเจดีย์สมัยทวารดีกระจัดกระจายไปรอบพื้นที่ ซึ่งเป็นฐานเจดีย์ที่พึ่งจะขุดค้นพบใหม่ถึง ๑๒ เจดีย์ รวมทั้งมีจุดชมพระอาทิตย์ตกดินหลายจุด ซึ่งนักท่องเที่ยวนิยมท่องเที่ยวอยู่ถึงเวลาพระอาทิตย์อัสดง 

                                   

         โซนสวนหินด้านล่าง ไฮไลต์สำคัญอยู่ที่ลานปรงป่าดึกดำบรรพ์ และสวนหินขนาดย่อม ๆ ที่ไม่ใหญ่โตเท่าโซนสวนหินด้านบนภูเขา  

                 

         การท่องเที่ยวสวนหินพุหางนาค สามารถท่องเที่ยวได้ทุกฤดูกาล ซึ่งนักท่องเที่ยวก็จะรื่นรมย์กับพืชพันธุ์ไม้ในฤดูที่แตกต่างกันไป ถ้าท่องเที่ยวในเดือนพฤษภาคม เวลาเดินท่องเที่ยวก็จะได้กลิ่นหอมของดอกพุทธป่า (จันทน์ขาว) ที่กำลังออกดอกหอมอบอวนขณะเดินผ่าน เที่ยวเดือนพฤศจิกายนธันวาคม
ก็จะได้ยลโฉมดอกงิ้วป่าพันธุ์สีขาวบานสะพรั่ง ส่วนช่วงปลายฝนต้นหนาวก็จะเห็นดอกสุพรรณิกาออกดอกเหลืองอร่ามไปทั่วสวนหิน          และอีกไม่นานเกินรอ ดอกกระเจียวป่าซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเพาะเลี้ยงไว้ในถุง ก็จะบานสะพรั่งในช่วงเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งสำนักสงฆ์ถ้ำพุหางนาคจะจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปช่วยกันปลูกดอกกระเจียวให้บานเต็มสวนหินถึง ๒๐,๐๐๐ ต้น ในเดือนมิถุนายน ๒๕๕๕  นายภาคภูมิ  จิตต์โสภณ ยังกล่าวอีกว่า สิ่งที่สำนักสงฆ์ถ้ำพุหางนาคต้องการมากในขณะนี้คือ ต้องการพลังงานไฟและที่กักเก็บน้ำ ซึ่งถ้ามีหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ เข้ามาช่วยส่งเสริมให้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์จากแผงโซล่าเซลล์ และบริจาคแท๊งค์น้ำ หรือช่วยจัดสร้างที่กักเก็บน้ำ โดยดำเนินการให้มีความกลมกลืนกับธรรมชาติก็จะช่วยพัฒนาการท่องเที่ยวได้ดีมาก เหตุที่ไม่ต้องการมีเสาไฟฟ้าเข้ามาในพื้นที่ก็เพราะต้องการอนุรักษ์ให้สำนักสงฆ์แห่งนี้คงความเป็นสำนักสงฆ์ป่าและสร้างสมดุลให้กับธรรมชาติ
 
จำนวนผู้อ่าน 2122 คน
 
 
     ข้อมูล พุหางนาค  เพิ่มเติม
 
 เพลง พุหางนาค ที่นี่มีรอยยิ้ม  http://www.youtube.com/watch?v=WI4CDOwwFmg&feature=youtu.be     ข้อมูลพุหางนาคเพิ่มเติมโดย พี่หม่อง  http://www.suphan.biz/puhangnak.htm 2. Website ของ อบจ. สุพรรณบุรี  http://suphan.go.th/new-web/   3. Website การท่องเที่ยว ของ อบจ.สุพรรณบุรี    http://www.travelsuphan.com/   4. Facebook ของ อบจ.สุพรรณบุรี   http://www.facebook.com/suphan.go.th   5.เรารักสุพรรณ http://www.welovesuphan.com/  โปรแกรมเที่ยวพุหางนาค + เพลงพุหางนาค  ที่นี่มีรอยยิ้มhttp://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=381A0AD2E2K1ZNWBV79U2Z9DQPOT9I
    จาก  ..  SUTEP GAWRUANG<tepmarketing@gmail.com>;

    เกรียงไกร  ก่อเกียรติตระกูล  ข่าว   081-4359473


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น