วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

อู่ทอง มาจากไหน ?



   อู่ทอง มาจากไหน ?  เอกสารแจก งานเล่าเรื่องเมืองอู่ทอง มาจากไหน ?    เทศบาลตำบลอู่ทอง อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี    องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ณ หอประชุมศาลเจ้าพ่อพระยาจักร อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี  วันพฤหัสบดี ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555 เวลา 09.00-12.00 น. อู่ทอง มาจากไหน ?  สุจิตต์ วงษ์เทศ 

            อู่ทอง  เป็นชื่อจากนิทานประจำถิ่น  เรื่องท้าวอู่ทอง  ครองเมืองท้าวอู่ทอง  บริเวณลำน้ำ จระเข้สามพัน   สมัย ร. 5 ทางการยกฐานะเป็น อ. จระเข้สามพัน ขึ้นต่อเมืองสุพรรณบุรี เมื่อ พ.ศ. 2445   สมเด็จฯ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  เสด็จเมืองท้าวอู่ทอง  เมื่อ พ.ศ.  2446  ทรงมี  พระนิพนธ์  (นิทานโบราณคดี  เรื่องเมืองอู่ทอง)  ถึงความสำคัญของเมืองนี้  และเหตุที่ร้างไป  ว่า พระเจ้าอู่ทองเสวยราชย์ที่เมืองท้าวอู่ทองนั้นก่อน  อยู่มาห่าลงกินเมือง พระเจ้าอู่ทองจึงพาผู้คน หนีห่า  ย้ายไปสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี   แล้วทรงมีพระวินิจฉัยว่าอู่ทองเป็นชื่อเมือง  ตรงกับชื่อเมืองสุพรรณภูมิ  ซึ่งแปลว่าแผ่นดินทอง  จึงได้ชื่อเรียกกันว่าเมืองอู่ทอง นับแต่ทรงมีพระวินิจฉัย   ทางการเปลี่ยนชื่อจาก อ. จระเข้สามพัน เป็น อ. อู่ทอง เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2482   แผนที่แสดงบริเวณเมืองอู่ทองและแนวชายฝั่งทะเลเดิม มีห้วยหางนาคชักน้ำจากเขาพุหางนาคเข้า  คูน้ำเมืองอู่ทอง (ทิวา ศุภจรรยา, ภาพจากหนังสือ โบราณคดีเมืองอู่ทอง กรมศิลปากรจัดพิมพ์  พ.ศ. 2545)อู่ทอง มาจากไหน ? 3 2 อู่ทอง มาจากไหน ? อู่ทอง มาจากไหน ? 3 2 อู่ทอง มาจากไหน ?
ดาวน์โหลดข้อมูลทั้งหมด ได้ที่นี่  Download

               คนดึกดำบรรพ์   ผ่านไปมาทั่วบริเวณอู่ทอง  เมื่อ 3,000 ปีมาแล้ว     คนยุคดึกดำบรรพ์จากท้องถิ่นใกล้เคียง  เช่น ลุ่มน้ำแม่กลอง ฯลฯ  ใช้เครื่องมือทำจากหิน  และไม้เดินทางแสวงหาอาหารตามธรรมชาติ ผ่านไปมาทั่วเขตอู่ทอง เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว
  มีบางพวกหาที่อยู่ชั่วคราวบริเวณเพิงผา ตามทิวเขาทำเทียมและเขาพระ รวมถึงที่ราบลุ่มน้ำ จระเข้สามพัน และลำน้ำต่างๆ  ยุคนี้ขอบทะเลโคลนตมของอ่าวไทย  เว้าลึกเข้ามาถึงดินแดนทางทิศตะวันออกของอู่ทอง ต่อเนื่อง อ. สองพี่น้อง จ. สุพรรณบุรี แม่น้ำจระเข้สามพันไหลลงทะเลโคลนตมของอ่าวไทยทาง แม่น้ำท่าว้า ครั้งนั้นยังไม่มีแม่น้ำท่าจีน
 
1
                     โครงกระดูกคนดึกดำบรรพ์   ขุดพบที่บ้าน  นาลาว ต. อู่ทอง อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี (ภาพจากหนังสือ  โบราณคดีเมืองอู่ทอง กรมศิลปากรพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2545) ขวานหินแบบต่างๆ  เป็นเครื่องมือหินของ  คนดึกดำบรรพ์   พบที่   อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี 
(ภาพจากหนังสือโบราณคดีและประวัติศาสตร์  เมืองสุพรรณบุรี   กรมศิลปากรจัดพิมพ์  พ.ศ. 2542)อู่ทอง มาจากไหน ? 3 2 อู่ทอง มาจากไหน ? อู่ทอง มาจากไหน ? 3 2 อู่ทอง มาจากไหน ?    ชุมชนบ้านเมืองสุวรรณภูมิ นับถือศาสนาผี มีหินตั้ง เมื่อ 2,000 ปีมาแล้ว

                     บรรพชนคนอู่ทองยุคนี้  ใช้เครื่องมือทำจากโลหะ  เช่น  สัมฤทธิ์  และเหล็ก  แล้วสร้างที่อยู่  อาศัยด้วยไม้ไผ่และไม้ชนิดต่างๆ  รวมกันเป็นบ้านเมืองระดับรัฐขนาดเล็กอยู่บริเวณที่ราบลุ่มน้ำ จระเข้สามพันและลำน้ำต่างๆ ในเขตอู่ทอง เมื่อราว 2,000 ปีมาแล้ว (ราว พ.ศ. 555)  นับถือศาสนาผี โดยมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทำพิธีกรรมขอขมาฟ้าดินอยู่บนทิวเขาพระต่อเนื่อง เขาทำเทียม  แล้วใช้ก้อนหินกับแผ่นหินทำเขตศักดิ์สิทธิ์ด้วยการปักดินบ้าง  และวางเรียงซ้อน เป็นชั้นๆ บ้าง เหมือนแหล่งอื่นๆ ทั่วโลกในยุคก่อนหน้า หรือใกล้เคียงกัน ซึ่งเรียกภายหลังว่า หินตั้ง   ชุมชนบ้านเมืองนานไปก็เติบโตระดับเป็นรัฐเล็กๆ มีหัวหน้าเผ่าพันธุ์เป็นแม่หญิง ทำหน้าที่ หมอผีด้วย แล้วมีระบบปกครองผู้คนระดับต่างๆ ลดหลั่นลงไป  มีคนจากที่ห่างไกลเดินทางทะเลเลียบชายฝั่งมาติดต่อแลกเปลี่ยนสิ่งของกับชุมชนยุคโลหะ ที่อู่ทอง  แล้วเรียกดินแดนแผ่นดินใหญ่ที่มีบริเวณอู่ทองตั้งอยู่ใกล้ทะเลโคลนตม  ว่าสุวรรณภูมิ หมายถึงดินแดนที่มีความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์

                 ชื่อดินแดนว่าสุวรรณภูมิจากยุคนี้  เป็นที่รับรู้แล้วยกย่องเรียกสืบเนื่องต่อมาเป็นชื่อรัฐ สุพรรณภูมิ เมื่อราว พ.ศ. 1800 และชื่อรัฐสุพรรณบุรี เมื่อราว พ.ศ. 1900 จนเป็น จ. สุพรรณบุรีทุกวันนี้   หินตั้ง  ในศาสนาผี  ราว  2,000 ปีมาแล้ว  บนเขาพุหางนาค  อ.  อู่ทอง  จ.  สุพรรณบุรี  ยุคก่อนรับ วัฒนธรรมศาสนาพราหมณ์, พุทธ จากอินเดีย   รูปแบบของหินตั้งที่พุหางนาค  มีลักษณะก่อหินเรียงรายขึ้นไปในผังทรงกลม  สอบสูงขึ้น คล้ายทรงสามเหลี่ยม  ที่ด้านบนสุดมีหินทรงกลมขนาดใหญ่  ไม่หนามาก  ปิดอยู่ข้างบน  ลักษณะ แบบนี้เป็นอย่างเดียวกับหินตั้งที่ภูอาสา  แขวงจำปาสัก  ในลาว  และหินตั้งที่เกาะนีอาส์  (เนียส์)   ใกล้เกาะสุมาตรา ในอินโดนีเซีย (ภาพโดย ปรีดี
 ตันสุวรรณ)  2อู่ทอง มาจากไหน ? 5 4 อู่ทอง มาจากไหน ? อู่ทอง มาจากไหน ? 5 4 อู่ทอง มาจากไหน ?

`                   ศูนย์กลางพุทธศาสนา  ทวารวดี เก่าสุด ที่อู่ทอง  เมื่อ 1,500 ปีมาแล้ว  ศาสนาพราหมณ์และพุทธจากอินเดียและลังกา  มากับเรือพ่อค้านักเดินทาง  ขึ้นบก ทางฝั่งทะเลอันดามัน ทางเมืองทวาย (พม่า)  จากนั้นเดินบกผ่านช่องเขาเข้าเขต จ. กาญจนบุรี ลงแควน้อย ล่องแม่กลอง ผ่านน้ำทวน ถึงลำน้ำจระเข้สามพัน  เริ่มเผยแผ่ศาสนาพราหมณ์และพุทธที่อู่ทองเป็นแห่งแรกในไทยตั้งแต่ราวหลัง พ.ศ. 1000 หรือราว 1,500 ปีมาแล้ว

                   แรกรับอารยธรรมอินเดีย  มีระบบการปกครองแบบพระราชาหรือกษัตริย์  แล้วขุดคูน้ำก่อ คันดินล้อมรอบศูนย์กลางอำนาจ  โดยชักน้ำจากพุหางนาคภูเขาศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาผีที่มีมาก่อน ให้ไหลลงห้วยพุหางนาค มาใช้ในคูน้ำที่ขุดไว้ แล้วสร้างพุทธสถานไว้ริมห้วยน้ำศักดิ์สิทธิ์ด้วย  หินตั้งในศาสนาผีที่มีอยู่ก่อนบนทิวเขาพระต่อเนื่องเขาทำเทียม ก็ถูกปรับบางแห่งให้เคลือบ ด้วยศาสนาพราหมณ์และพุทธ  โดยยังรักษาหลักผีไว้เหมือนเดิม  อาจนับเป็นต้นแบบศาสนาผี พราหมณ์ พุทธ สืบถึงยุคหลังๆ จนทุกวันนี้  นักปราชญ์สมัยหลังๆ  เรียกยุคนี้ว่าทวารวดี  แล้วพบหลักฐานว่าอู่ทองเป็นศูนย์กลาง พุทธศาสนาเก่าแก่ที่สุดของไทยยุคทวารวดีที่ส่งแบบแผนให้บ้านเมืองอื่นๆ ทั้งบริเวณภาคกลาง ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เช่น นครปฐม, ลพบุรี, ปราจีนบุรี, ฯลฯ และลุ่มน้ำใกล้เคียง
                  เมืองอู่ทองยุคทวารวดีมีขอบเขตปกคลุมทิวเขาด้านตะวันตกของเมือง  กับที่ราบเชิงเขา และที่ราบลุ่มรอบๆ โดยมีแนวคันทำนบน้ำ (คนยุคปัจจุบันเรียก ถนนท้าวอู่ทอง) และอ่างเก็บน้ำ (คนยุคปัจจุบันเรียก คอกช้างดิน) เป็นระบบควบคุมน้ำอุปโภคบริโภค  ส่วนพื้นที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบกำหนดเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์  ศูนย์กลางการปกครองที่ตั้ง ตำหนักหรือคุ้มหลวงของคนชั้นสูง เช่น พระราชา, มหาอำมาตย์มนตรี, ฯลฯ
                 3   เหรียญโรมัน  ด้านหน้ามีรูปพระพักตร์ด้านข้างของจักรพรรดิซีซาร์    วิคโตรินุส  (กษัตริย์โรมัน  ครองราชย์ระหว่างปี  พ.ศ.  812-814)  สวมมงกุฎยอดแหลมเป็นแฉก  มีตัวอักษรล้อมรอบอยู่ริมขอบ ของเหรียญ  IMP  C  VICTORINUS  PF  AUG  ซึ่งเป็นคำย่อของ  Imperator  Caesor  Pius  Felix Auguste  แปลว่า  จักรพรรดิซีซาร์    วิคโตรินุส  ศรัทธา  ความสุข  เป็นสง่า  ส่วนด้านหลังของเหรียญ เป็นรูปของเทพีอาธีนา  พบที่   อ.  อู่ทอง  จ.  สุพรรณบุรี    (ภาพและคำอธิบายจากหนังสือ  โบราณคดี เมืองอู่ทอง กรมศิลปากรพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2545)อู่ทอง มาจากไหน ? 5 4 อู่ทอง มาจากไหน ? อู่ทอง มาจากไหน ? 5 4 อู่ทอง มาจากไหน ?

                ก้อนศิลาจารึก  คำสันสกฤตว่า ปุษยคิริ   อ้างถึงพุทธสถานยุคพระเจ้าอโศก บนเขาในอินเดีย พบบนเขาด้านตะวันตก
เมืองอู่ทอง  อ.  อู่ทอง  จ.  สุพรรณบุรี  (ภาพจากหนังสือ  สุวัณณภูมิ   ของ ธนิต  อยู่โพธิ์    อดีตอธิบดีกรมศิลปากร จัดพิมพ์เป็นพุทธบูชา โดย กรมศิลปากร พ.ศ. 2510)   ธรรมจักรพร้อมแท่นและเสาสลักหิน  ทำเลียนแบบสัญลักษณ์พุทธศาสนาในอุดมคติยุค  พระเจ้าอโศก  พบอยู่กับพุทธสถานริมห้วยพุหางนาค  เมืองอู่ทอง  (เจดีย์หมายเลข  11)  อ.  อู่ทอง  จ.  สุพรรณบุรี   เมื่อเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน  พ.ศ.  2506  (ภาพจากหนังสือ  โบราณคดีเมือง อู่ทอง กรมศิลปากรจัดพิมพ์ พ.ศ. 2545)

                 ธรรมจักร  แท่นธรรมจักร เสาทรงแปดเหลี่ยม ลายเส้นแสดงธรรมจักร  ประดิษฐานบนยอดเสาอู่ทอง มาจากไหน ? 7 6 อู่ทอง มาจากไหน ? อู่ทอง มาจากไหน ? 7 6 อู่ทอง มาจากไหน ?     อู่ทองขยายปริมณฑล     รับวัฒนธรรมขอม     เมื่อ 1,000 ปีมาแล้ว
  อู่ทองขยายปริมณฑลจากศูนย์กลางออกไปโดยรอบ ตั้งแต่ พ.ศ. 1500 หรือเมื่อ 1,000 ปี มาแล้ว โดยให้ความสำคัญด้านทิศตะวันตก (ไปทาง จ. กาญจนบุรี) และทิศเหนือขึ้นไปตามแม่น้ำ  ท่าจีน, และแม่น้ำท่าว้า-ท่าคอย  (ท่าจีนเก่า) ตามเส้นทางการค้าที่ไปเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมขอม

                  เครือข่ายทางเศรษฐกิจการเมืองของอู่ทองที่ขยายออกไปกว้างขวาง เห็นได้จากงานช่างแบบขอม  มีพบทั่วไปตลอดลุ่มน้ำจระเข้สามพัน ต่อเนื่องถึงลุ่มน้ำทวน (จ. กาญจนบุรี)   แสดงให้เห็นว่าอู่ทองเป็นรัฐเอกราชยุคทวารวดี ที่มีความสืบเนื่องไม่ขาดสาย  และไม่เคย  รกร้างห่างหาย  ดังมีนักค้นคว้าและนักวิชาการเคยอธิบายสันนิษฐานไว้นานมาแล้ว  เพียงแต่ลด  ความสำคัญในฐานะศูนย์กลางลงไปด้วยเหตุอื่นๆ   ราวหลัง พ.ศ. 1700 อู่ทองเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับวัฒนธรรมขอมเมืองละโว้ (จ. ลพบุรี) โดยมี  ชุมชนบ้านเมืองแห่งใหม่นับถือศาสนาพุทธมหายานแบบขอมอยู่ที่เนินทางพระ  (อ.  สามชุก จ. สุพรรณบุรี) แล้วติดต่อค้าขายขึ้นไปถึงรัฐหริภุญชัย (จ.ลำพูน) ลุ่มน้ำปิง-วัง

                  ขณะที่ผู้คนตระกูลไทย-ลาว เคลื่อนย้ายจากสองฝั่งโขงลงมาตั้งหลักแหล่งอยู่บริเวณลุ่มน้ำ  ท่าจีน (บริเวณที่จะเป็นรัฐสุพรรณภูมิ แล้วเป็นเมืองสุพรรณบุรีต่อไปข้างหน้า) เป็นต้นเหตุให้ผู้คน บริเวณนี้พูดสำเนียงลาวสองฝั่งโขง แต่ถูกเรียกภายหลังว่า เหน่อ  ความสัมพันธ์ทางสังคมวัฒนธรรมอย่างนี้เองที่เป็นพื้นฐานให้ต่อไปข้างหน้ารวมกันเป็น “เสียมหลอ” (หมายถึงกรุงศรีอยุธยา) ที ่พบในจดหมายเหตุจีน ว่าเสียม หมายถึงสยามที ่สุพรรณบุรี ส่วนหลอ หมายถึง ละโว้ที่ลพบุรี

                4   พระพุทธรูปหินทราย  (ชิ้นส่วน) ปางนาคปรก งาน ช่างขอมแบบบายน  หรือหลังจากนั้นเล็กน้อย  ระหว่าง พ.ศ. 1750 - 1850 เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมขอม พบที่เขารักษ์  (อ. ห้วยกระเจา จ. กาญจนบุรี) (ภาพจากประวัติวัฒนธรรม ลุ ่มน้ำทวน-จระเข้สามพัน รายงานการสำรวจข้อมูลวัฒนธรรม สมัยโบราณ  ในลุ่มน้ำทวน  (จ.  กาญจนบุรี)-จระเข้สามพัน (จ. สุพรรณบุรี) โดยรองศาสตราจารย์สุรพล นาถะพินธ ุและ อาจารย์ศิริพจน์  เหล่ามานะเจริญ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัย ศิลปากร  สนับสนุนโดย  บริษัท  มติชน  จำกัด  (มหาชน) สิงหาคม-กันยายน 2552)อู่ทอง มาจากไหน ? 7 6 อู่ทอง มาจากไหน ? อู่ทอง มาจากไหน ? 7 6 อู่ทอง มาจากไหน ?  เศียรยักษ์  เศียรเทวดา  งานช่าง แบบหริภุญชัย ระหว่าง พ.ศ. 1600 - 1700 พบที่เมืองอู่ทอง  ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู ่ทอง (ภาพจาก ประวัติวัฒนธรรมลุ่มน้ำทวน-จระเข้สามพัน รายงานการสำรวจข้อมูลวัฒนธรรมสมัย โบราณใน ลุ่มน้า  (จ. กาญจนบุรี)-จระเข้

                สามพัน  (จ. สุพรรณบุรี)  โดยรองศาสตราจารย์ สุรพล นาถะพินธุุ และอาจารย์ศิริพจน์  เหล่ามานะเจริญ คณะโบราณคดี
 มหาวิทยาลัย ศิลปากร สนับสนุนโดย บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) สิงหาคม-กันยายน 2552)อู่ทอง มาจากไหน ? 9 8 อู่ทอง มาจากไหน ? อู่ทอง มาจากไหน ? 9 8 อู่ทอง มาจากไหน ?  อู่ทองในปริมณฑล    ของรัฐสุพรรณภูมิ    หลัง พ.ศ. 1700  อู่ทองเป็นเมืองในปริมณฑลของรัฐสุพรรณภูมิ ที่เติบโตขึ้นหลัง พ.ศ. 1700 หรือราว 800 ปี มาแล้ว ผู้คนและบ้านเรือนเบาบางลง เพราะความสำคัญลดลง
  มีศูนย์กลางอยู่สองฟากแม่น้ำท่าจีน (บริเวณตัวจังหวัดสุพรรณบุรีปัจจุบัน) ควบคุมเส้นทาง การค้าออกอ่าวไทย และอ่าวเมาะตะมะ (ทะเลอันดามัน)

                 ชื่อสุพรรณภูมิ  สืบเนื่องจากชื่อสุวรรณภูมิ ที่มีตั้งแต่ราว พ.ศ.  500  ยุคแรกมีบ้านเมืองที่ อู่ทอง    เอกสารจีนเรียกรัฐสุพรรณภูมิว่า เสียน หรือเสียม หมายถึง สยาม แต่บางทีเรียก เจนลีฟู  ซึ่งยังไม่รู้หมายถึงอะไร   ครั้นหลัง พ.ศ.  1800  ขุนหลวงพะงั่ว  รัฐสุพรรณภูมิ  สถาปนากรุงศรีอยุธยาร่วมกันกับ พระเจ้าอู่ทอง (สมเด็จพระรามาธิบดี) รัฐละโว้   หลวงพ่อโต ยุคสุพรรณภูมิ   วัดป่าเลไลยก์ อ. เมือง จ. สุพรรณบุรี    ปูนปั้น  ยุคสุพรรณภูมิ พบที่ซากโบราณสถาน เนินทางพระ อ. สามชุก จ. สุพรรณบุรีอู่ทอง มาจากไหน ? 9 8 อู่ทอง มาจากไหน ? อู่ทอง มาจากไหน ? 9 8 อู่ทอง มาจากไหน ?   อู่ทองในปริมณฑล    ของเมืองสุพรรณบุรี    หลัง พ.ศ. 1900

                 อู่ทองอยู่ในปริมณฑลของเมืองสุพรรณบุรี ครั้นเจ้านครอินทร์ยึดอำนาจได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน  กรุงศรีอยุธยา  เมื่อหลัง พ.ศ.  1900  ทำให้รัฐสุพรรณภูมิสลายตัวเป็นเพียงเมืองสุพรรณบุรีใน ราชอาณาจักรสยาม  กรุงศรีอยุธยา  แต่ยังดำรงความสำคัญในฐานะราชธานีเก่า  แล้วมีเชื้อวงศ์ สืบสายตระกูลต่อมา โดยมีกำแพงและป้อมปราการแข็งแรง    ผู้คนจากที่ต่างๆ  มาตั้งบ้านเรือนอยู่อู่ทองคับคั่งขึ้น  จึงมีวัดวาอารามสถูปเจดีย์  และ ปูชนียวัตถุสมัยอยุธยาเหลืออยู่มาก  พระปรางค์ยุคอยุธยา วัดพระธาตุศาลาขาว (พระธาตุสวนแตง) ริมแม่น้ำท่าว้า ต. สวนแตง อ. เมือง จ.  สุพรรณบุรี     (ภาพจากหนังสือประวัติศาสตร์เมืองสุพรรณบุรี    ของ  มนัส  โอภากุล  สำนักพิมพ์มติชน   พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2547)6อู่ทอง มาจากไหน ? 11 10 อู่ทอง มาจากไหน ? อู่ทอง มาจากไหน ? 11 10 อู่ทอง มาจากไหน ?  (ซ้าย) เจดีย์ทรงระฆัง ราว พ.ศ. 1900 วัดเขาทำเทียม อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี (ขวา) เจดีย์ทรงระฆัง ราวหลัง พ.ศ. 2000 วัดเขาพระ อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี  (ซ้าย) เจดีย์ทรงระฆัง (บนยอดเขา) ราว พ.ศ. 2100 วัดเขาดีสลัก อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี (ขวา) รอย
พระพุทธบาท ยุคอยุธยา ที่วัดเขาดีสลัก อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี  (ภาพจากประวัติวัฒนธรรมลุ่มน้ำทวน-จระเข้สามพัน  รายงานการสำรวจข้อมูลวัฒนธรรมสมัย โบราณ ในลุ่มน้ำทวน  (จ. กาญจนบุรี)-จระเข้สามพัน  (จ. สุพรรณบุรี) โดยรองศาสตราจารย์สุรพล นาถะพินธุ
และอาจารย์ศิริพจน์   เหล่ามานะเจริญ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร สนับสนุนโดย บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) สิงหาคม-กันยายน 2552)ซากเจดีย์ ราวหลัง พ.ศ. 2000 ในอาคารทรงมณฑปภายในวัดโคกสำโรงบ้านโคกสำโรง อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรีอู่ทอง มาจากไหน ? 11 10 อู่ทอง มาจากไหน ? อู่ทอง มาจากไหน ? 11 10 อู่ทอง มาจากไหน ?
               อู่ทอง เมืองป่าดงพงไพร    สมัยกรุงรัตนโกสินทร์    หลัง พ.ศ. 2325  อู่ทองเป็นเมืองป่าดงพงไพร สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ หลัง พ.ศ. 2325   แต่เป็นที่รับรู้ถึงความสำคัญในหมู่คนชั้นสูงและนักปราชญ์ยุคต้นๆ เพราะเมื่อ ร. 2 โปรดให้ ชำระเสภาขุนช้างขุนแผน แล้วต่อมาแต่งเพิ่มในรัชกาลหลังๆ ได้ยกอู่ทองเป็นฉากสำคัญๆ เช่น  ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง  แล้วพานางวันทองหนีไปเขาพระ  ซึ่งอยู่อู่ทอง  ในกลอน เสภากล่าวถึงชื่อเขาพระ, เขาทำเทียม, และชื่อบ้านนามเมืองอื่นๆ ในละแวกอู่ทอง  นอกจากนั้น  ตอนต้นเรื่องเสภากล่าวถึงพระพันวษา  ประพาสป่าตอนต้อนควายป่า  ก็ น่าเชื่อว่าใช้ฉากอู่ทองด้วย

              7 เขาพระ ปัจจุบันมีวัดเขาพระศรีสรรเพชญาราม (วัดเขาพระ) อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรีอู่ทอง มาจากไหน ? 13 12 อู่ทอง มาจากไหน ? อู่ทอง มาจากไหน ? 13 12 อู่ทอง มาจากไหน ?อู่ทอง มาจากไหน ? 13 12 อู่ทอง มาจากไหน ? อู่ทอง มาจากไหน ? 13 12 อู่ทอง มาจากไหน ?อู่ทอง มาจากไหน ? 15 14 อู่ทอง มาจากไหน ? อู่ทอง มาจากไหน ? 15 14 อู่ทอง มาจากไหน ?    ชุมชนจระเข้สามพัน ที่อู่ทอง    ยกเป็น อ. จระเข้สามพัน     สมัย ร. 5 พ.ศ. 2445  บริเวณอู่ทอง  สมัย  ร.  5  รู้จักกันในชื่อชุมชนจระเข้สามพัน  เพราะมีแม่น้ำไหลผ่านชื่อ จระเข้สามพัน  เมื่อมีผู้คนตั้งบ้านเรือนหนาแน่นมากขึ้น  ก็โอนหมู่บ้านใกล้เคียงมารวม  เพิ่มให้มีพื้นที่
กว้างขวางเหมาะสม แล้วยกเป็น อ. จระเข้สามพัน เมื่อ พ.ศ. 2445  ปีรุ่งขึ้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จประพาสเมืองอู่ทอง ที่ อ. จระเข้สามพัน เมื่อ พ.ศ. 2446 สมัย ร.5 จากนั้นทรงมีพระนิพนธ์ว่าท้าวอู่ทอง ครองเมืองท้าวอู่ทอง พาไพร่พล ราษฎรหนีโรคห่าระบาดไปสถาปนากรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 1893
                   8  แม่น้ำจระเข้สามพัน หมายถึง แม่น้ำมีจระเข้อยู่มาก  สามพันเป็นจำนวนสมมุติเพื่อแสดงว่ามีจระเข้อยู่มากเท่านั้น โดยไม่กำหนดว่าสามพัน ตัวจริงๆ หรือสามสายพันธุ์ดังมีนิทานบอกเล่าไว้  แม่น้ำลำคลองสมัยก่อนมีจระเข้อยู่ทั่วไป ไม่ใช่สิ่งผิดปกติ  แม่น้ำจระเข้สามพันเชื่อมกับแม่น้ำทวน (ไหลแยกจากแม่น้ำแม่กลองที่ท่าม่วงกาญจนบุรี ทวนขึ ้นทางทิศเหนือ จึงเรียกแม่น้ำทวน ซึ ่งเป็นที ่สูงกว่าบริเวณแม่น้ำท่าจีน) ไหลจากเขาหัวนอน อ. พนมทวน จ. กาญจนบุรี ผ่าน อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี บรรจบ แม่น้ำท่าว้า (มาจาก อ. สามชุก จ. สุพรรณบุรี) ที่บ้านไผ่หงอย   ต่อจากนั้นไหลผ่านตลาดบางลี่ (อ. สองพี่น้อง จ. สุพรรณบุรี) ออกปากคลองวัดบางสาม (หรือปากคลองสองพี่น้อง) ลงแม่น้ำท่าจีน ออกอ่าวไทยที่ จ. สมุทรสาคร

                  กระดูกขากรรไกรจระเข้  ขนาดยาวประมาณ 40  เซนติเมตร  อายุประมาณ  1,700-1,900  ปี  มาแล้ว  พบในหลุมขุดค้นทางโบราณคดี  บริเวณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี  (ภาพและคำอธิบาย  โดย  อ.  สุรพล  นาถะพินธุ  คณะโบราณคดี   มหาวิทยาลัยศิลปากร)อู่ทอง มาจากไหน ? 15 14 อู่ทอง มาจากไหน ? อู่ทอง มาจากไหน ? 15 14 อู่ทอง มาจากไหน ?

                   พระเจ้าอู่ทอง สร้างอยุธยา  ไม่เกี่ยวกับท้าวอู่ทอง เมืองอู่ทอง  ที่ อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี  ร.  5  เสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่า  เมื่อ พ.ศ.  2451 ทรงมีพระราชหัตถเลขาเรื่องท้าว อู่ทอง เมืองอู่ทอง ว่า ไม่ใช่พระเจ้าอู่ทอง สร้างกรุงศรีอยุธยา มีความตอนหนึ่ง (คัดมาจัดย่อหน้าใหม่) ดังนี้  “ได้ถามเรื่องเมืองอู่ทองคือเมืองเก่า  เจ้าอธิการแสง  ตามที่ได้ไปเห็นและตามที่ได้ฟังเล่า ว่าอู่ทองนั้นอยู่เมืองเก่า  หนีห่าได้หนีขึ้นไปข้ามที่ตะพานหินวัดกร่าง  ข้ามมาเดินทางฝั่งตะวัน ออก  แล้วจึงลงไปตั้งเมืองกำแพงแสนและเมืองอื่นๆ ห่าก็ยังตามอยู่เสมอ  เพราะห่านั้นเดินทีละ ย่างนกเขาเท่านั้น  อู่ทองจึงได้มีเวลาสร้างบ้านสร้างเมืองได้  แต่ครั้นเมื่อเมืองสำเร็จแล้วห่าก็
ตามไปถึง จึงต้องย้ายต่อไป ลงปลายนั้นว่าหนีออกทะเล ห่าก็ตามไปเอาจนได้  ได้ถามว่าห่านั้นเป็นอย่างไร  บอกว่าตามที่พูดนั้นเหมือนเป็นคน  แต่เธอเข้าใจเองว่า เหมือนอหิวาตกโรค  เมืองสุพรรณเดี๋ยวนี้ไม่ทราบว่าผู้ใดสร้าง แต่ไม่ใช่อู่ทองสร้าง อู่ทองที่หนีห่าไม่ใช่อู่ทองที่ ไปเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่กรุงเก่า เป็นอู่ทององค์อื่น อู่ทองมีหลายองค์เป็นตำแหน่งเจ้า  ผู้ซึ่งสร้างวัดอู่ทองในลำน้ำสุพรรณก็เป็นอู่ทององค์หนึ่งต่างหากเหมือนกัน  แต่จะมีลำดับ และกำหนดเรียกเปลี่ยนกันอย่างไร สมัยเทียบกับครั้งใดคราวใดไม่ทราบไม่ได้ยินใครเล่า”

                 ครั้นหลัง พ.ศ.  2500  มีนักปราชญ์และนักวิชาการทั้งไทยและต่างประเทศ  ค้นคว้าวิจัย ทางประวัติศาสตร์โบราณคดี  แล้วพบหลักฐานและร่องรอยจำนวนมากสรุปสอดคล้องกัน  ว่า กรุงศรีอยุธยามีขึ้นจากพัฒนาการทางเศรษฐกิจการเมือง  ของรัฐละโว้ (ลพบุรี) และรัฐสุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรี) ไม่เกี่ยวกับท้าวอู่ทอง เมืองอู่ทอง ที่ อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี 9อู่ทอง มาจากไหน ? 17 16 อู่ทอง มาจากไหน ? อู่ทอง มาจากไหน ? 17 16 อู่ทอง มาจากไหน ?

                 หินตั้ง ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า standing stone หมายถึงกลุ่มหินที่มนุษย์มีการ จัดการเชิงความเชื่อ หรือพิธีกรรม โดยมักจัดให้เป็นรูปทรงต่างๆ อาจจะตั้งอยู่เดี่ยวๆ จัดวาง ให้เป็นกลุ่ม  หรือรูปทรง  บางครั้งอาจมีการสลักภาพลงไปในเนื้อหิน  ไม่ได้หมายถึงเฉพาะ แค่การนำหินมาจัดวางให้ตั้งฉากขึ้นกับพื้นโลกเท่านั้น   โดยมากหินที่ถูกนำมาจัดการเหล่านี้มักจะมีขนาดใหญ่  จึงรู้จักกันทั่วไปในอีกชื่อ หนึ่งว่าหินใหญ่  (megalith)  แต่บางครั้งอาจจะไม่ได้ใช้หินที่มีขนาดใหญ่  แต่นำหินขนาด พอเหมาะมาก่อเป็นรูปทรงต่างๆ ให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ก็ได้

                นักโบราณคดีในยุโรปจำแนกประเภทของ หินตั้ง ออกเป็น 2 ชนิดอย่างกว้างๆ ได้แก่ 1. เมนเฮอร์ (menhir) 2. ดอลเมน (dolmen)  เมนเฮอร์  เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาเบรอตง  (Breton)  ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นใน เบรอตาญ  (Bretagne) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส  ประกอบขึ้นจากคำว่า men ที่แปลว่าหิน และคำว่า hir ที่แปลว่า ยาว  หินตั้งแบบที่เรียกว่า  เมนเฮอร์  จึงมีลักษณะเป็นแผ่นหินรูปทรงยาว  จัดวางตั้งฉาก อยู่กับพื้น  อาจจะตั้งวางอยู่เดี่ยวๆ  หรือตั้งรวมกันเป็นกลุ่มก็ได้  เช่น  ใบเสมาของไทยจัด
อยู่ในลักษณะหินตั้งแบบนี้

                หินตั้งที่ภูอาสา  แคว้นจำปาสัก  ประเทศลาว  อายุราว  2,000  ปีมาแล้ว  จัดเป็นหินตั้งแบบ ดอลเมน (dolmen)หินตั้งอู่ทอง มาจากไหน ? 17 16 อู่ทอง มาจากไหน ? อู่ทอง มาจากไหน ? 17 16 อู่ทอง มาจากไหน ?  หินตั้งบนเขาพุหางนาค  อ.  อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี  อายุราว  2,000  ปีมาแล้ว  จัด เป็นหินตั้งแบบดอลเมน  (dolmen)  ชิ้นส่วน หินที่ก่อสูงขึ้นไปถูกรื้อจนกระจัดกระจาย เพราะการลักลอบขุดหาโบราณวัตถุ  (ภาพ โดย ปรีดี ตันสุวรรณ)

               ดอลเมน กลายมาจากคำว่า  tolmen หรือ  toalmen  ในภาษาเบรอตงเช่นกัน แปลว่า โต๊ะหิน  หมายถึงกลุ่มหินตั้งที่ถูกจัดวางแบบมีหลังคาคลุมคล้ายรูปโต๊ะ  หรืออาคาร  (คือ มีผนังล้อมรอบ)  หินตั้งประเภทนี้จึงมีความหมายครอบคลุมถึง  สุสาน  ที่ก่อขึ้นจากหิน
(cromlech, stone tumulus) เช่น กลุ่มหินตั้งที่พุหางนาค อู่ทอง จัดอยู่ในประเภทนี้  (ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ เขียนอธิบาย)  กลุ่มหินตั้งที่เกาะนีอาส์  (เนียส์)  ก่อหินซ้อนสูงขึ้นไปแบบดอลเมน  แต่ก็ปักแผ่นหินตั้งฉาก ลงกับพื้นโลกอย่างที่เรียกว่าแบบเมนเฮอร์ด้วยอู่ทอง มาจากไหน ? 19 18 อู่ทอง มาจากไหน ? อู่ทอง มาจากไหน ? 19 18 อู่ทอง มาจากไหน ?  สุวรรณภูมิ แปลตามรูปศัพท์ว่า แผ่นดินทอง หรือดินแดนทอง แต่มีคำเฉพาะเรียกใช้มา นานแล้วว่าแหลมทอง หมายถึงบริเวณผืนแผ่นดินใหญ่ของอุษาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุคดึกดำบรรพ์นับพันๆ ปีมาแล้ว

                  อันเป็นดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์เสมือนว่าเต็มไปด้วยทองมีค่า ใครมาซื้อขายแลก เปลี่ยนด้วยก็จะมีแต่ความมั่งคั่ง เพราะมีความหลากหลายทางชีวภาพ ประกอบด้วยสัตว์, พืชพันธุ์ ธัญญาหาร, และแร่ธาตุต่างๆ  ทั้งเป็นหลักแหล่งของกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลายที่นับถือศาสนาผี และล้วนเป็นเครือญาติ ทางสังคมวัฒนธรรม แล้วเป็นบรรพชนของคนไทยทุกวันนี้  แผนที่สุวรรณภูมิในอุษาคเนย์ในตำราภูมิศาสตร์ Cosmographia ของ เซบาสเตียน มึนสเตอร์นักภูมิศาสตร์ชาวเยอรมัน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2083 กำหนดตำแหน่งแผ่นดินเงินอยู่ระหว่างกรุงหงสาวดีและ ปากแม่น้ำคงคา ส่วนแผ่นดินทอง (สุวรรณภูมิ) มีอาณาเขตทิศเหนือจดกรุงหงสาวดี ทิศใต้จดมะละกา ทิศตะวันตกจดอ่าวเมาะตะมะ และทิศตะวันออกจดทะเลจีนใต้ เป็นบริเวณทวารวดีและฟูนันในอดีต หรือ สยามประเทศและเพื่อนบ้านอินโดจีนในปัจจุบัน  ตำราเล่มนี้ ฉบับพิมพ์ครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. 2171 ระบุชัดเจนว่า “ในราชอาณาจักรสยามเป็นที่ตั้ง
ของแผ่นดินทอง ซึ่งเป็นแผ่นดินทองของปโตเลมี...ถัดลงมาคือแหลมทอง ซึ่งมีภูมิลักษณะเป็นคอยาว” (ภาพและคำอธิบาย ได้จาก ธวัชชัย ตั้งศิริวานิช) สุวรรณภูมิอู่ทอง มาจากไหน ? 19 18 อู่ทอง มาจากไหน ? อู่ทอง มาจากไหน ? 19 18 อู่ทอง มาจากไหน ?

                 สุวรรณภูมิ เป็นชื่อเก่าแก่มีในคัมภีร์โบราณ เช่น มหาวงศ์ พงศาวดารลังกา, ชาดกพุทธ ศาสนาในอินเดีย, และนิทานเปอร์เซียในอิหร่าน ฯลฯ เนื่องเพราะชาวสิงหล (ลังกา), ชาวชมพูทวีป (อินเดีย), และชาวอาหรับ(อิรัก)-เปอร์เซีย (อิหร่าน) ที่เป็นนักเดินทางผจญภัยแลกเปลี่ยน ค้า ขายสิ่งของเครื่องใช้ต่างพากันเรียกผืนแผ่นดินใหญ่ของอุษาคเนย์โบราณว่าสุวรรณภูมิไม่น้อย กว่า 2,000 ปีมาแล้ว แต่ไม่พบชื่อนี้ในจารึกของพระเจ้าอโศก  ส่วนชาวฮั่น (จีน) ยุคโบราณ เรียกดินแดนนี้ว่าจินหลิน หรือกิมหลิน มีความหมายเดียว กันกับชื่อสุวรรณภูมิว่าแผ่นดินทอง, ดินแดนทอง, แหลมทอง

                 ชาวยุโรปยุคต้นอยุธยา ยังเรียกดินแดนนี้ว่าสุวรรณภูมิสืบมา ดังมีในแผนที่วาดโดยชาว เยอรมันเมื่อ พ.ศ. 2087 ระบุเป็นภาษาละตินที่แปลว่าแผ่นดินทอง ตรงกับบริเวณสยามและ บริเวณใกล้เคียง  ฉะนั้น  สุวรรณภูมิจึงไม่ใช่ชื่อรัฐหรืออาณาจักร  แต่เป็นชื่อดินแดนแผ่นดินใหญ่ของ อุษาคเนย์หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบันที่ขนาบด้วย 2 มหาสมุทรคือ มหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ทางด้านตะวันออก กับมหาสมุทรอินเดีย อยู่ทางด้านตะวันตก  ส่งผลให้ดินแดนสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนค้าขาย หรือ “จุดนัดพบ” หรือ
“สะพานแผ่นดิน” เชื่อมโยงระหว่างโลกตะวันตก (หมายถึงอินโด-เปอร์เซียและอาหรับ) กับโลก ตะวันออก (หมายถึงจีนฮั่น และอื่นๆ) แล้วเกิดการประสมประสานทางศาสนาเก่าและใหม่ คือ ผี-พราหมณ์-พุทธ   แล้วมีความมั่งคั่งและมั่นคง จนมีรัฐใหญ่ๆเกิดขึ้นในยุคต่อๆมา เช่น ทวารวดี, ศรีวิชัย, ฟูนัน, เจนละ, ทวารวดีศรีอยุธยา, อโยธยาศรีรามเทพ, ละโว้, จนถึงกรุงศรีอยุธยา ฯลฯ ดึงดูดให้ผู้คน จากที่ต่างๆทุกทิศทางเคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งหลักแหล่ง ทำให้เกิดความหลากหลายทางชาติพันธุ์  ที่ผสมผสานทางสังคมวัฒนธรรมและเผ่าพันธุ์ จนเป็นคนไทย และเครือญาติชาติประเทศต่างๆ ในปัจจุบัน เช่น สิงคโปร์, มาเลเซีย, พม่า, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม และไทย  สุวรรณภูมิ คือนามอันเป็นมงคลที่คนแต่ก่อนยกย่องใช้เรียกชื่อบ้านนามเมืองสืบเนื่อง หลายยุคหลายสมัย ได้แก่ รัฐสุพรรณภูมิ (ราวหลัง พ.ศ. 1600) จนเป็นเมืองสุพรรณบุรี (ราวหลัง พ.ศ. 1800) และ จ. สุพรรณบุรี รวมทั้งชื่อเมืองสุวรรณภูมิ (ราว พ.ศ. 2315 สมัยกรุงธนบุรี) แล้วเปลี่ยนเป็น อ. สุวรรณภูมิ จ. ร้อยเอ็ดเมื่อราว 100 ปีมาแล้ว
                ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ  เป็นนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2543     พจนานุกรม อธิบายคำ สุวรรณ [สุ-วัน] น. ทอง. (ส. สุวรฺณ; บ. สุวณฺณ). ภูมิ 1, ภูมิ-[พูม, พู-มิ,  พูม-มิ-] น. แผ่นดิน, ที่ดิน. ภูมิ 2 น. พื้นความรู้, ปัญญา. ภูมิ 3 ว. สง่า, ผึ่งผาย, องอาจ. สุวรรณภูมิ  น. ดินแดนทองคำอู่ทอง มาจากไหน ? 21 20 อู่ทอง มาจากไหน ? อู่ทอง มาจากไหน ? 21 20 อู่ทอง มาจากไหน ?

                ศิลปะอู่ทอง และ พระพุทธรูปอู่ทอง ไม่เกี่ยวกับชื่อเมืองอู่ทอง ที่ อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี ซึ่งมีมาตั้งแต่ยุคสุวรรณภูมิ ราวเรือน พ.ศ. 1 สืบเนื่องถึงยุคทวารวดี ราวหลัง พ.ศ. 1000 จนถึง ราว พ.ศ. 1600  แต่ศิลปะอู ่ทองและพระพุทธรูปอู ่ทอง มีอายุหลังลงมาอีก กล่าวคือหมายถึงงานช่างที ่กำหนด อายุได้ก่อน  (พ.ศ.  1893) พระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยา  ราว  100 ปี  ลงมาจนถึงช่วงต้นของ
สมัยอยุธยาโดยสร้างตามงานช่างแบบขอม ผสมกับแบบทวารวดี ราวระหว่าง พ.ศ. 1800 - 2000   และเมืองอู่ทองก็ไม่ใช่ศูนย์กลางของศิลปะอู่ทองด้วย  เพราะพบศิลปะอู่ทองอยู่ในแถบ เมืองสุพรรณบุรี-สรรคบุรี-ชัยนาทมากกว่า  ด้วยเหตุนี้จึงมีนักวิชาการเห็นว่าไม่ควรใช้คำว่าสมัยหรือแบบอู่ทอง  เพราะจะทำให้สับสน ปนกับชื่อเมืองอู่ทองยุคสุวรรณภูมิ-ทวารวดี  ระหว่าง พ.ศ.  1000-1600  แต่ควรเรียกชื่ออื่น  เช่น สกุลช่างอโยธยา, สกุลช่างสุพรรณบุรี-สรรคบุรี  (สรุปจากหนังสือศิลปอู่ทอง  ของมานิต  วัลลิโภดม  กรมศิลปากรพิมพ์เมื่อ พ.ศ.  2510 และศิลปะในประเทศไทยของ ศจ., มจ.  สุภัทรดิศ ดิศกุล มหาวิทยาลัยศิลปากร พิมพ์ครั้งที่  13 พ.ศ. 2550)

                 เศียรพระธรรมิกราช  หล่อด้วยสัมฤทธิ์  พระพุทธรูปแบบอู่ทอง  หรือแบบอโยธยา  เคยเป็น พระประธานของพระวิหารหลวงวัดธรรมิกราช  (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  เจ้าสามพระยา จ. พระนครศรีอยุธยา)ศิลปะอู่ทอง, พระพุทธรูปอู่ทองอู่ทอง มาจากไหน ? 21 20 อู่ทอง มาจากไหน ? อู่ทอง มาจากไหน ? 21 20 อู่ทอง มาจากไหน ?  ถนนท้าวอู่ทอง  เป็นแนวคันดินเพื่อจัดการน้ำ  ที่คนยุคทวารวดีก่อพูนขึ้นเป็นทำนบ และคูน้ำ  ใช้เบี่ยงเบนทิศทางน้ำไหลไปตามต้องการเพื่ออุปโภคบริโภค  แล้วคนสมัยหลังไม่รู้ว่า
เป็นคันทำนบน้ำ  จึงเรียกถนนท้าวอู่ทอง  (แต่ที่จริงไม่ใช่ถนนเพื่อการคมนาคมอย่างทุกวันนี้) ในเขตเมืองอู่ทอง เท่าที่พบแล้วมี 2 แนว คือ

                   แนวแรก อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองอู่ทอง ทำแนวเหนือ-ใต้ ระหว่างเขาโถปิดทอง กับเขาตาแก้ว  ยาวราว  1  กิโลเมตร  อีกแนวหนึ่ง  อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองอู่ทอง ใกล้บริเวณคอกช้างดิน  คอกช้างดิน เป็นอ่างเก็บน้ำแบบที่เรีบก “บาราย” ใช้กักเก็บน้ำบนผิวดินแล้วทำคันดินยก ขอบล้อมรอบ โดยไม่ขุดเจาะลึกลงไป  เท่าที่สำรวจพบแล้วมี 4 แห่ง ตั้งอยู่บนพื้นที่ต่างระดับกัน  ใกล้ทางน้ำไหลลงมาจากเขาคอก ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือ  (สรุปจากหนังสือ  ประวัติศาสตร์โบราณคดี  :  เมืองอู่ทอง  ของ  ศรีศักร  วัลลิโภดม สำนักพิมพ์เมืองโบราณ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2549)ระบบจัดการน้ำ (ซ้าย) ถนนท้าวอู่ทอง (ขวา) คันดินคอกช้างดิน
ถนนมาลัยแมน

                   ถนนมาลัยแมน เป็นถนนตัดเฉือนคูน้ำกำแพงดินบางส่วนของด้านทิศตะวันออก  ชื่อมาลัยแมน มีขึ้นเมื่อ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ได้จากนามสกุลเพื่อเป็นเกียรติแก่ นาย ปุย มาลัยแมน หัวกน้ากองคลัง กรมทางหลวง สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2493)  ถนนมาลัยแมน เป็นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 321 สายนครปฐม - สุพรรณบุรี ระยะทาง รวม 106.273 กิโลเมตรอู่ทอง มาจากไหน ? 23 22 อู่ทอง มาจากไหน ? อู่ทอง มาจากไหน ? 23 22 อู่ทอง มาจากไหน ?เขาพระ ในขุนช้างขุนแผนตอนที่ 18 ขุนแผนพานางวันทองหนี  ๏ ถึงเขาพระที่เคยเข้ามาไหว้  พระสุกนี่กระไรดังหิ่งห้อยชี้บอกวันทองน้องน้อย  พระจันทร์ฉายบ่ายคล้อยลงฉับพลันรื่นรื่นชื่นรสเสาวคนธ์  ปนกับกลิ่นแก้มเกษมสันต์ หอมกลิ่นบุปผาสารพัน  พระจันทร์ดั้นหมอกออกแดงดวง ส่องต้องบุปผชาติสะอาดช่อ  อ่อนลออเกสรขจรร่วงน่ารักโกสุมเป็นพุ่มพวง  โน้มหน่วงกิ่งเก็บให้วันทองทัดหูชูชมภิรมย์จิต  ขอดมดอกไม้นิดอย่าปิป้องพี่สูดแต่น้อยน้อยค่อยประคอง  ไฮ้อย่าต้องของฉันจะชอกช้ำพี่ต้องแต่เบาเบาดอกเจ้าพี่  พอยินดีหายระหวยเมื่อยามค่ำอันตัวพี่ไม่มีจะหยามทำ  นั่นซ้ำเก่าเจ้าแกล้งพาโลกันวันทองร้องไฮ้อะไรนี่  เชิงกระนี้เหน็บแนมแกมขยัน แสนงอนค่อนว่าสารพัน  ไก่ขันแจ้วแจ้วจะรุ่งราง เสียงจังหรีดกรีดกริ่งระงมไพร  ลองไนหริ่งหริ่งอยู่รอบข้างจักจั่นสนั่นเสนาะคราง  เมื่อแสงทองส่องสว่างสุธาดลสกุณากาแกก็แซ่ซ้อง  ชะนีร้องเหนี่ยวไม้ในไพรสณฑ์เห็นแสงพระอาทิตย์ผิดพิกล  วะโหวดโหวยเวียนวนว่าเลือดย้อยเสียงเย็นเห็นยะยวบอยู่ปลายไม้  ไหวไหวผัวโวยโหยละห้อยพอเห็นคนแล่นโลดกระโดดลอย  ลูกน้อยตามแต้กลัวแม่ทิ้ง
ฝูงลิงไต่กิ่งลางลิงไขว่  ลางลิงแล่นไล่กันวุ่นวิ่งลางลิงชิงค่างขึ้นลางลิง  กาหลงลงกิ่งกาหลงลงเพกากาเกาะทุกก้านกิ่ง  กรรณิกากาชิงกันชมหลง
                  มัดกากากวนล้วนกาดง  กาฝากกาลงทำรังกา เสือมองย่องแอบต้นตาเสือ  ร่มหูกวางกวางเฝือฝูงกวางป่าอ้อยช้างช้างน้าวเป็นราวมา  สาลิกาจับกิ่งพิกุลกินเขาคุ่มกระลุมพูคูขันจ้อ  นกกระทาปักก้อในไพรสิณฑ์คิริบูนบ่นบ้ากระพือบิน  ขมิ้นจับโมงหมายอยู่ชายไพร
เขาพระอู่ทอง มาจากไหน ? 23 22 อู่ทอง มาจากไหน ? อู่ทอง มาจากไหน ? 23 22 อู่ทอง มาจากไหน ?เขาทำเทียม ในขุนช้างขุนแผนตอนที่ 21 ขุนแผนลุแก่โทษ  ๏ ร่มรื่นพื้นพรรณบุปผา  สะอาดตาช่อชูดูไสวขุนแผนชักม้าคลาไคล  บัดใจถึงเขาธรรมเธียรที่เชิงเขาเหล่าพรรณมิ่งไม้  ลมพัดกวัดไกวอยู่หันเหียนรกฟ้าขานางยางตะเคียน  กันเกราตระเบาตระเบียนแลชิงชัน สนสักกรักขีต้นกำยาน  ฉนวนฉนานคล้าคลักจักจั่นปรางปรูประดู่ดูกมูกมัน  เหียงหันกระเพราสะเดาแดงเต็งแตวแก้วเกดอินทนิน  ร้อยลิ้นตาตุ่มชุมแสงขวิดขวาดราชพฤกษ์จิกแจง  สมุลแว้งแทงทวยกล้วยไม้กระพ้อเงาะระงับกระจับบก  กระทกรกกะลำพอสมอไข่ผักหวานตาลดำลำไย  มะเฟืองไฟไข่เน่าสะเดานาไทรโศกอุโลกโพกพาย  โพบายไกรกร่างอ้อยช้างหว้าพลับพลวงม่วงมันจันทนา  ปักษาเพรียกพร้องร้องจอแจ  ๏ นกกระลางลางล้วงได้ด้วงจิก  ลูกอ้าปากริกร้องวอนแม่ดุเหว่าจับเถาตำลึงแล  เห็นลูกสุกแดงแจ๋เข้าจิกกินนกขมิ้นจับเถาขมิ้นเครือ  คาบเหยื่อเผื่อลูกแล้วโผผินสาลิกาพาหมู่เที่ยวจู่บิน  เขาคูคู่ถิ่นอยู่ริมรกกระทาปักหาตัวเมียจ้อ  ชูคอปีกกางหางหกค้อนทองร้องรับกันป๊กป๊ก  นกคุ่มเปรียวปรื๋อกระพือบินไก่ป่าขันแจ้วอยู่แนวไพร  เขี่ยคุ้ยขุยไผ่เป็นถิ่นถิ่นหารังเรียกคู่อยู่กับดิน  หยุดกินวิ่งกรากกระต๊ากไป   ๏ รอนรอนอ่อนแสงพระสุริยง  ชักม้าเลียบลงตรงน้ำไหล ครั้นถึงธารท่าชลาลัย  ชวนวันทองน้องให้ลงจากม้า ปลดอานม้าพลางทางเปลื้องเครื่อง  แล้วชวนนางย่างเยื้องลงสู่ท่าต่างกินอาบซาบเย็นเส้นโลมา  บุษบาบานช่ออรชร  เขาธรรมเธียร  ปัจจุบันเรียก  เขาทำเทียม  อยู่ทางด้านตะวันตกเมืองอู่ทอง อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี เ

                  ขาทำเทียมอู่ทอง มาจากไหน ? PB 24 อู่ทอง มาจากไหน ?  บริษัท ดรีม แคชเชอร์ กราฟฟิค จำกัด  โทรศัพท์
  0 2455 3995   โทรสาร  0 2454 4266  ออกแบบและจัดรูปเล่ม

                   http://www.sujitwongthes.com/suvarnabhumi/2012/09/oo-thong_26092555/

เกรียงไกร  ก่อเกียรติตระกูล  ข่าว   081-4359473

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น