อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี เป็นที่ตั้งเมืองโบราณอู่ทองซึ่งได้ชื่อจากตำนานท้าวอู่ทองอันเป็นนิทานที่เล่าสืบกันมาในลุ่มน้ำเจ้าพระยาหลายแห่ง
ที่ตั้งของเมืองอู่ทองเคยเป็นป่าวอ่าวแม่น้ำที่ไหลลงสู่ทะเลสมัยโบราณ ด้านตะวันตกของเมืองมีแนวเทือกเขาทอดตัวยาวเป็นหลักหมายตา ดังนั้นบริเวณนี้จึงมีความเหมาะสมในการอยู่อาศัย คือมีทั้ง ภูเขา ที่ราบ ลำน้ำและทะเล ส่งผลให้มีผู้คนเริ่มตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีหลักฐานที่บ้านนาลาวใกล้เคียงกับเมืองอู่ทอง ทั้งนี้ คงสัมพันธ์กับแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ที่อยู่ใกล้เคียงกัน เช่น ดอนตาเพชร อ.พนมทวน หรือกลุ่มวัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์ริมแม่น้ำแควน้อย-แควใหญ่ในเขตกาญจนบุรีด้วย แล้วอู่ทองจึงได้พัฒนาขึ้นมาเป็นเมืองเมื่อรับเอาอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียเข้ามาตั้งแต่ราว พ.ศ. 900 เป็นต้นมา
เมื่อเป็นชุมชนใหญ่ขึ้นจึงได้ขุดคูเมือง สร้างคันดินกำแพงเมืองตามภูมิประเทศ เมืองอู่ทองจึงมีรูปลักษณะที่ไม่เป็นเรขาคณิตเพราะอิงอยู่กับสภาพแวดล้อม อันเป็นลักษณะสำคัญของเมืองในวัฒนธรรมสมัยทวารวดี ช่วง พ.ศ.1100 จนถึง 1400 หลายแห่งในภาคกลาง
อู่ทองยังเป็นแหล่งที่พบหลักฐานของพุทธศาสนายุคแรกๆ ในดินแดนไทยเพราะมีโบราณวัตถุสถานที่มีศิลปกรรมเปรียบเทียบได้กับพุทธศิลป์ของอินเดียที่เก่าแก่ถึงในราว พ.ศ. 900 เช่น แผ่นอิฐดินเผารูปพระสงฆ์อุ้มบาตร ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
ภายในและภายนอกคูน้ำเมืองอู่ทอง มีโบราณสถานที่เป็นสถูปเจดีย์โบราณหลายแห่ง ล้วนอยู่ในสภาพพังทลายเหลือเพียงฐาน ไกลออกไปทางตะวันตกบนภูเขาหลังเมือง คือ เขาพระ เขาทำเทียม เขาดีสลัก มีร่องรอยโบราณสถานเก่าถึงสมัยทวารวดีลงมาจนสมัยอยุธยา ล่าสุดได้มีการค้นพบโบราณสถานก่อด้วยหินเป็นฐานตั้งอยู่เรียงรายตามยอดเขาหลายลูกในบริเวณที่เรียกว่าพุหางนาค ยังไม่อาจสันนิษฐานได้ว่าเป็นสิ่งก่อสร้างอะไร
ที่ตั้งของเมืองอู่ทองเคยเป็นป่าวอ่าวแม่น้ำที่ไหลลงสู่ทะเลสมัยโบราณ ด้านตะวันตกของเมืองมีแนวเทือกเขาทอดตัวยาวเป็นหลักหมายตา ดังนั้นบริเวณนี้จึงมีความเหมาะสมในการอยู่อาศัย คือมีทั้ง ภูเขา ที่ราบ ลำน้ำและทะเล ส่งผลให้มีผู้คนเริ่มตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีหลักฐานที่บ้านนาลาวใกล้เคียงกับเมืองอู่ทอง ทั้งนี้ คงสัมพันธ์กับแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ที่อยู่ใกล้เคียงกัน เช่น ดอนตาเพชร อ.พนมทวน หรือกลุ่มวัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์ริมแม่น้ำแควน้อย-แควใหญ่ในเขตกาญจนบุรีด้วย แล้วอู่ทองจึงได้พัฒนาขึ้นมาเป็นเมืองเมื่อรับเอาอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียเข้ามาตั้งแต่ราว พ.ศ. 900 เป็นต้นมา
เมื่อเป็นชุมชนใหญ่ขึ้นจึงได้ขุดคูเมือง สร้างคันดินกำแพงเมืองตามภูมิประเทศ เมืองอู่ทองจึงมีรูปลักษณะที่ไม่เป็นเรขาคณิตเพราะอิงอยู่กับสภาพแวดล้อม อันเป็นลักษณะสำคัญของเมืองในวัฒนธรรมสมัยทวารวดี ช่วง พ.ศ.1100 จนถึง 1400 หลายแห่งในภาคกลาง
อู่ทองยังเป็นแหล่งที่พบหลักฐานของพุทธศาสนายุคแรกๆ ในดินแดนไทยเพราะมีโบราณวัตถุสถานที่มีศิลปกรรมเปรียบเทียบได้กับพุทธศิลป์ของอินเดียที่เก่าแก่ถึงในราว พ.ศ. 900 เช่น แผ่นอิฐดินเผารูปพระสงฆ์อุ้มบาตร ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
ภายในและภายนอกคูน้ำเมืองอู่ทอง มีโบราณสถานที่เป็นสถูปเจดีย์โบราณหลายแห่ง ล้วนอยู่ในสภาพพังทลายเหลือเพียงฐาน ไกลออกไปทางตะวันตกบนภูเขาหลังเมือง คือ เขาพระ เขาทำเทียม เขาดีสลัก มีร่องรอยโบราณสถานเก่าถึงสมัยทวารวดีลงมาจนสมัยอยุธยา ล่าสุดได้มีการค้นพบโบราณสถานก่อด้วยหินเป็นฐานตั้งอยู่เรียงรายตามยอดเขาหลายลูกในบริเวณที่เรียกว่าพุหางนาค ยังไม่อาจสันนิษฐานได้ว่าเป็นสิ่งก่อสร้างอะไร
|
ถึงราว พ.ศ.1500 ลงมา แผ่นดินงอกออกไป ชายฝั่งทะเลค่อยๆเถิบห่างไปจากเมืองอู่ทอง และยังมีศูนย์กลางสำคัญเกิดขึ้นใหม่ เมืองอู่ทองจึงหมดความสำคัญลงจนไม่ใช่เมือง จนเมื่อราว100- 200 ปีที่ผ่านมา เริ่มมีคนกลับเข้าไปตั้งถิ่นฐานริมลำน้ำจระเข้สามพันเป็นหมู่บ้านเรียกกันว่า ท่าพระยาจักร เพราะพบเทวรูปพระนารายณ์ที่ถูกเคลื่อนย้ายมาไว้ในศาลเจ้าประจำชุมชน
ผู้คนที่เข้ามาใหม่นำเอานิทานเรื่องท้าวอู่ทอง ที่เป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์ซึ่งเติบโตจากการเป็นพ่อค้ามาผูกโยงกับสถานที่ ต่อมา สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงทรงใช้ชื่อเรียกเมืองโบราณนี้ว่าเมืองอู่ทองในที่สุด
แต่ชื่อดั้งเดิมของเมืองนี้ยังไม่มีใครรู้ เพราะไม่พบจารึกเอกสารที่ตกทอดกันลงมาจากสมัยที่เมืองยังมีความสำคัญอยู่เมื่อราวพันกว่าปีมาแล้ว
http://haab.catholic.or.th/siam/siam5/siam5.html
เมืองอู่ทอง หลักฐานใหม่ และศักยภาพสู่ความเป็นมรดกโลก
เป็นที่ทราบกันดีถึงความสำคัญของเมืองอู่ทองในฐานะเมืองโบราณแห่งหนึ่งในเขต จ.สุพรรณบุรีซึ่งยังคงหลงเหลือร่องรอยของคูน้ำคันดินแสดงอาณาเขตชัดเจน รวมทั้งโบราณสถานโบราณวัตถุที่เป็นหลักฐานยืนยันว่าเคยมีความสืบเนื่องทางวัฒนธรรมตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ราว 3,000 ปีมาแล้วลงมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ที่เรียกกันว่าทวารวดี ร่วมกันกับวัฒนธรรมของชุมชนโบราณแห่งอื่นๆในที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยาช่วง พ.ศ.1100 ถึง 1400 เช่น เมืองนครปฐม เมืองคูบัว จ.ราชบุรี หรือเมืองลพบุรี
นอกจากนั้น เมืองอู่ทองยังพบหลักฐานการเข้ามาของพระพุทธศาสนาในระยะแรกๆของดินแดนแถบนี้ เพราะได้พบรูปพระสงฆ์ดินเผาที่เคยประดับศาสนสถานซึ่งหมายความว่าได้รับการสร้างขึ้นในท้องถิ่น มีอายุร่วมสมัยกับศิลปะอินเดียทางใต้แบบอมราวดี ราว พ.ศ. 700-900 รวมทั้งสถูปเจดีย์ พระพุทธรูป ธรรมจักรศิลาและอื่นๆกระจายตัวเป็นวงกว้างในเขตเมืองอู่ทอง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าสิ่งเหล่านั้นอยู่ในสภาพชำรุดเกิดจากกาลเวลาและการจงใจขุดทำลายเพื่อหาของมีค่า ข้อมูลที่อาจใช้ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของเมืองอู่ทองจึงสูญหายไปไม่น้อย
ล่าสุด ได้มีรายงานการค้นพบสิ่งก่อสร้างที่เป็นโบราณสถานบนภูเขาด้านหลังเมืองอู่ทอง ได้แก่กลุ่มเขาพระ เขาทำเทียม เขารางกะปิด เขารางกะเปิด ซึ่งทางขึ้นสู่แนวเขาเหล่านี้ปัจจุบันรู้จักกันว่าอยู่บริเวณพุหางนาคซึ่งมีสำนักสงฆ์ตั้งอยู่ จากการสำรวจมีจำนวนนับสิบแห่ง มีทั้งโบราณสถานที่ก่อด้วยหินธรรมชาติที่ถูกสกัดให้เป็นแผ่นขนาดเล็ก เรียงซ้อนกันเป็นทรงโจมไม่มีการสอปูน ส่วนใหญ่ถูกลักลอบขุดหาสมบัติจึงไม่คงรูปร่างไว้ได้มาก ลักษณะนี้เองไปสัมพันธ์กับวัฒนธรรมหินตั้งทั่วโลก ซึ่งใช้หินนำมาตั้ง หรือก่อให้เป็นรูปทรงต่างๆเพื่อใช้เนื่องในพิธีกรรม ลักษณะเช่นนี้เป็นข้อมูลใหม่สำหรับเมืองอู่ทอง ที่พบร่องรอยวัฒนธรรมหินตั้งอยู่ด้วย
อีกแบบคือสิ่งก่อสร้างที่น่าจะเป็นเจดีย์ในพุทธศาสนา ซึ่งนับเนื่องอายุร่วมสมัยกับหลักฐานของสถูปเจดีย์ในเมืองอู่ทอง เพราะได้พบว่าวัสดุที่ใช้สร้างคืออิฐขนาดใหญ่ที่มีแกลบข้าวปนอยู่ เป็นอิฐแบบทวารวดี แต่สภาพก็ถูกขุดหาสมบัติเช่นกันจึงไม่อาจสันนิษฐานถึงรูปทรงได้ชัดเจน
โบราณสถานทั้งสองแบบนี้ พบกระจายตัวกันตามยอดเขาและสันเขาทั้งในจุดที่หันหน้าออกสู่เมืองอู่ทองทางตะวันออก และด้านหลังทางทิศตะวันตก แสดงว่าภูเขาทั้งลูกนี้น่าจะเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้งานเนื่องในพิธีกรรมจากสมัยก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องลงมาสู่สมัยที่ผู้คนของเมืองอู่ทองรับพุทธศาสนาจากอินเดียจึงได้สร้างเจดีย์อันเป็นศาสนสถานขึ้นซ้อนทับบนพื้นที่เดียวกัน
ลักษณะเช่นนี้ทำให้นึกถึงแหล่งที่คล้ายคลึงกันคือ ภูพระบาท ในเขต อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ มีหลักฐานของวัฒนธรรมหินตั้งใช้งานเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยทวาวดี-เขมร และสมัยล้านช้าง
ภูพระบาทกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการขอยื่นพิจารณาเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของไทย ดังนั้น หลักฐานทางวัฒนธรรมของเมืองอู่ทองทั้งที่มีอยู่และค้นพบใหม่จึงน่าที่จะสามารถสนับสนุนให้เมืองอู่ทองสามารถมีสถานะความสำคัญเทียบเท่ากับมรดกโลกเช่นเดียวกัน หากดำเนินการจัดการทั้งด้านการศึกษาอย่างเป็นระบบและมีแนวทางอนุรักษ์พื้นที่ไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่ออยู่ร่วมกันกับชุมชนอย่างยั่งยืน
ท้องถิ่นมีชุมชน/พุธที่ 15 สิงหาคม 2555
นาน้อย อ้อยหนู
เส้นทางไหว้พระ 5 ขุนเขา เมืองเก่าทวารวดีศรีอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
ตามรอยพระอริยสงฆ์พระโสณเถระและพระอุตตระเถระ อัครสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเส้นทางรอยบุญศูนย์กลางพุทธศาสนาสมัยสุวรรณภูมิที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย เมืองเก่าอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง
ยุคก้อนดินหินเก่าเล่าเรื่องเมืองอู่ทองยุคก่อนประวัติศาสตร์ 3,000 ปี ก้อนดินหินเก่าเล่าเรื่องเมืองโบราณอู่ทอง นับย้อนรอยถอยร่นไปสู่อดีตความทรงจำเมื่อครั้ง 3,000 ปีในยุคก่อนประวัติศาสตร์ แดนดินถิ่นนี้เคยเจริญรุ่งเรืองทางด้านเกษตรกรรมในยุคหินใหม่สืบต่อเรื่อยมาเข้าสู่ยุคโลหะตามลำดับ จากหลักฐานก้อนดินซากหินเก่า ๆ โบราณสถาน โบราณวัตถุ นานาชนิดได้ขุดค้นพบและรวบรวมจัดแสดงไว้อย่างสวยงามในห้อง “บรรพชนคนอู่ทอง” ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินี้ เป็นที่น่าภาคภูมิใจในความชาญฉลาดบรรพบุรุษเป็นยิ่งนัก
ยุคอิฐ ดินเผา โลหะเก่าเล่าเรื่องเมืองอู่ทองยุคประวัติศาสตร์ 2,000 ปี นับย้อนรอยถอยร่นมาอีก 2,000 ปี เข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ อิฐ ดินเผา โลหะเก่า เล่าเรื่องแดนดินถิ่นโบราณ“สุวรรณภูมิ” เมืองแห่งนี้ เจริญรุ่งเรืองสืบมา เป็นเมืองท่าการค้าขายที่สำคัญของชุมชนยุคโบราณแห่งนี้กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และนานาอารยประเทศ เป็นแว่นแคว้นแห่งปฐมปฐพีของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตามรอยพระอริยสงฆ์พระโสณเถระและพระอุตตระเถระ อัครสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เข้ามาเผยแผ่พระธรรมคำสอนอันบริสุทธิ์ในแผ่นดินสยาม นับเป็นบุญมหากุศลที่เกิดเป็นคนชนชาติไทยที่ได้พบสัจจะธรรมในพุทธองค์ และเจริญรุ่งเรืองแผ่ไพศาลสืบมาตราบเท่าทุกวันนี้ ปรากฏหลักฐานทางวัตถุ เครื่องประดับ ลูกปัดโบราณล้ำค่า แผ่นดินเผา เหรียญกษาปณ์โรมัน ปูนปั้นพ่อค้า ชาวเปอร์เซีย ศาสนสถาน สิ่งก่อสร้างในศาสนาพราหมณ์ ฮินดู เรียงรายล้อมรอบเมืองโบราณแห่งนี้และได้รวบรวมเรียบเรียงจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทองนี้ เช่นกัน
ยุค คูน้ำ คันดิน คูเมือง เล่าเรื่องเมืองเก่าอู่ทองสมัยทวารวดีศรีอู่ทอง เมื่อครั้ง 1,000-1,500 ปี
นับย้อยรอยถอยร่นมาอีกราว ๆ พุทธศตวรรษที่ 11 – 16 ประมาณ1,000 – 1,500 ปี เข้าสู่ยุคคูน้ำ คันดินคูเมืองโบราณ สมัยทวารวดีศรีอู่ทอง ซากโบราณสถาน โบราณวัตถุ เรียงรายกระจายล้อมรอบตัวเมืองโบราณแห่งนี้ไม่ต่ำกว่า 20 แห่ง พระพุทธรูป พระเครื่อง เครื่องประดับ ล้วนล้ำค่า งามตาเกินกว่าที่จะประเมินราคาได้ธรรมจักรศิลา พระพุทธรูปสำริด พระพุทธรูปและปฏิมากรรมดินเผา ลูกปัดเครื่องประดับหลากชนิด ร่องรอยต่าง ๆ ยังคงปรากฏให้เห็นเด่นชัด รอการพิสูจน์ค้นหาความเป็นจริง อันยิ่งใหญ่ไพศาลของบรรพชนอย่างน่าอัศจรรย์ใจจากคนรุ่นหลัง ถูกเรียงร้อยเป็นถ้อยคำ จัดแสดงไว้ภายในห้องอู่ทองศรีทวารวดี ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทองแห่งนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง สามารถเข้าชมได้สะดวกสบายมากตั้งอยู่ติดกับที่ว่าการอำเภออู่ทองบนถนนสายมาลัยแมน ทางหลวงหมายเลข 321 ห่างจากตัวเมืองสุพรรณบุรีประมาณ 40 กิโลเมตร เดินทางจากตัวเมืองสุพรรณบุรีไปตามถนน 321 มาลัยแมน (สุพรรณบุรี – อู่ทอง) เปิดทำการวันพุธ – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00 – 16.00 น. อัตราค่าบริการเข้าชม ชาวไทย 30.- บาท ชาวต่างชาติ 150.- บาทเข้าชมโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ ภิกษุ สามเณร และนักบวชในศาสนาต่าง ๆสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 035 – 551-021, 035-551-040
ตามรอยพระอริยสงฆ์พระโสณเถระและพระอุตตระเถระ อัครสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเส้นทางรอยบุญศูนย์กลางพุทธศาสนาสมัยสุวรรณภูมิที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสุพรรณบุรี พร้อมแล้วที่จะนำทุก ๆท่านเข้าสู่พุทธสถาน แดนดินถิ่นกำเนิดปฐมปฐพีมหากุศลอันยิ่งใหญ่ไพศาล ในมิติ Unseen Purpose Buda Destination ศูนย์กลางพุทธศาสนาเก่าแก่ที่สุดของแผ่นดินสยาม เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ในแง่มุมที่หลาย ๆ ท่านไม่เคยสัมผัสมาก่อน ตามเส้นทางรอยบุญมหากุศลอันยิ่งใหญ่ไพศาล พระโสณเถระและพระอุตตระเถระ อัครสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แดนดินปฐมปฐพีอันศักดิ์สิทธิ์ถิ่นกำเนิด กลิ่นอายความสุขแห่งธรรมะอันบริสุทธิ์ ความมหัศจรรย์ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ซ่อนเร้นความเชื่อศรัทธาแห่งพลานุภาพในพุทธคุณของธรรมะอันบริสุทธิ์ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มีเมตตาต่อทุกสรรพสิ่งในพิภพ ททท.สำนักงานสุพรรณบุรี ขอน้อมนำเข้าสู่สรวงสวรรค์ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยกันทั้งสิ้น เส้นทางบุญไหว้พระออมบุญห้าขุนเขาเมืองเก่าทวารวดีศรีอู่ทอง
ตามรอยพระอริยสงฆ์พระโสณเถระและพระอุตตระเถระ อัครสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเส้นทางรอยบุญศูนย์กลางพุทธศาสนาสมัยสุวรรณภูมิที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย สรวงสวรรค์ ปฐมปฐพี ในพระธรรมคำสอนของพุทธองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า วัดเขาถ้ำเสือ แดนดินถิ่นธรรมะ “ศีล สมาธิ ปัญญา จิต กาย ใจ ให้เป็นปัจจุบัน” มหามงคลในพระธรรมคำสอนพุทธองค์ วัดเขาถ้ำเสือ- ขุนเขา พุทธสถานสถิตประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณตัวแทนแห่งพุทธองค์แกะสลักลอยนูนเด่นเป็นสง่า ผ่านลมฝนมาเนินนานนับพันปี รอคอยพุทธศาสนิกชน ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ได้ไปสัมผัสอำนวยอวยชัยขอพรพึ่งพระบารมี สถิตสถาพร ณ จุดชมวิว ชั้นสรวงสวรรค์แห่งขุนเขา มีสวนป่าจันทร์ขาว ป่าสุพรรณนิการ์เหลืองอร่าม ส่งกลิ่นหอมอบอวนทั่วขุนเขา มีสวนป่าหินธรรมชาติสลับซับซ้อนล้วนงามตา ถือเป็นเครื่องพุทธบูชาแด่พุทธองค์ ที่สถิตสถาพร ณ สรวงสวรรค์ชั้นแห่งขุนเขานี้ตลอดกาล พระพุทธคุณแห่งพุทธสถานแห่งนี้เป็นแดนดินถิ่นกำเนิดกรุพระเครื่องถ้ำเสือที่เก่าแก่ที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศไทย ในตำนานพระฤๅษี “ สุวรรณภูมิ ” เป็นผู้สร้าง
ตามรอยพระอริยสงฆ์พระโสณเถระและพระอุตตระเถระ อัครสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเส้นทางรอยบุญศูนย์กลางพุทธศาสนาสมัยสุวรรณภูมิที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย สรวงสวรรค์ ปฐมปฐพี ในพระธรรมคำสอนของพุทธองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า วัดเขาทำเทียม แดนดินถิ่นธรรมะ “ เทียมสวรรค์ ปุษยคีรี ขุนเขาดอกไม้ ” สรวงสวรรค์แดนมหามงคลในพระธรรมคำสอนอันบริสุทธิ์ของพุทธสถานวัดเขาทำเทียม ขุนเขาแห่งนี้ที่พุทธศาสนิกชนชาวบ้านย่านนี้เรียกขานกันว่าวัดเขาเทียมสวรรค์ หากเทียบกับสมัยพุทธกาลก็เฉกเช่นเดียวกับปุษยคีรีสังฆารามในสมัยพุทธกาล ขุนเขาแห่งนี้มีเพิงผาหน้าถ้ำเป็นที่พำนักของ อัครสาวกขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า เส้นทางรอยบุญพระโสณเถระ และพระอุตตระเถระขณะที่เผยแผ่พระธรรมคำสอนอันบริสุทธิ์ของพุทธองค์ ร่องรอยบุญมหากุศลของพุทธสถานแห่งนี้มีพระอุโบสถ์ ใบเสมาหินเก่าแก่โบราณ เล่าขานตำนานปฐมพระอุโบสถ์ในสยามประเทศ มีสวนป่าลีลาวดีนานาพันธุ์ สุพรรณนิการ์เหลืองอร่าม เป็นเครื่องพุทธบูชาอยู่คู่พุทธสถานแห่งนี้ กลิ่นอายของพระธรรมคำสอนของพุทธองค์ยังคงตรึงตาตรึงใจให้พุทธศาสนิกชน ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ได้อาศัยพึ่งบุญบารมี เป็นร่มโพธิ์ ร่มไทรใบบุญตราบเท่าทุกวันนี้ อานุภาพแห่งพุทธคุณ ธรรมชาติก่อให้เกิดบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ผุดบนยอดขุนเขาแห่งนี้ ใกล้ ๆ กับเพิงผาถ้ำที่พำนักของพระอริยสงฆ์ผู้เปรียบล้นด้วยเมตตาธรรม บ่อนทีแห่งนี้ไม่เคยเหือดแห้ง ยังคงเปี่ยมล้นด้วยน้ำพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์เฉกเช่นเดียวกับพุทธเมตตาของพุทธองค์ที่มีต่อสรรพสิ่งในพิภพนี้
ตามรอยพระอริยสงฆ์พระโสณเถระและพระอุตตระเถระ อัครสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เส้นทางรอยบุญศูนย์กลางพุทธศาสนาสมัยสุวรรณภูมิที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
สรวงสวรรค์ ปฐมปฐพี ในพระธรรมคำสอนของพุทธองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า วัดเขาพระศรีสรรเพชญาราม แดนดินถิ่นธรรมะ “ เมืองอู่ทองศรีทวารวดี ”
สรวงสวรรค์แห่งพระธรรมคำสอนของพุทธองค์ ณ ขุนเขาวัดเขาพระศรีสรรเพชญาราม แดนดินถิ่นพุทธคุณบารมีแห่งหลวงพ่อสังฆ์ เผยแผ่บารมีธรรม ณ เพิงผาหน้าถ้ำบนยอดขุนเขามานานนับพันปีด้วยรัศมีแห่งธรรมะอันบริสุทธิ์ ได้คุ้มครองปกปักษ์รักษาพุทธศาสนิกชนทั่วหล้า ได้น้อมนำจิตขอพึ่งพระบารมี สรวงสวรรค์แห่งขุนเขานี้มีสมมุติแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยรอยพระบาทจำลองครอบด้วยมณฑปช่างวิจิตรงดงามราวกับหมู่เหล่าทวยเทพเทวดา นางฟ้า บรรจงสร้างสรรค์เพื่อเป็นพุทธบูชาด้วยความเลื่อมใสศรัทธาแห่งธรรมะ แดนดินชั้นสรวงสวรรค์แห่งนี้มีสระปทุมสีแดงเบ่งบาน หอมอบอวลด้วยดอกลีลาวดี มีองค์พระเจดีย์โบราณสถานสมัยทวารวดีเป็นพุทธสถาน เป็นเครื่องพุทธบูชา เป็นมหามงคลยิ่งใหญ่ไพศาลสำหรับพุทธศาสนิกชนได้มาเจริญศรัทธากราบไหว้ขอพรแดนดินถิ่นธรรมะอันบริสุทธิ์แห่งนี้
ตามรอยพระอริยสงฆ์พระโสณเถระและพระอุตตระเถระ อัครสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเส้นทางรอยบุญศูนย์กลางพุทธศาสนาสมัยสุวรรณภูมิที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย สรวงสวรรค์ ปฐมปฐพี ในพระธรรมคำสอนของพุทธองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า วัดเขากำแพง แดนดินถิ่นธรรมะ “ พระสุเมรุปล่องภูเขาไฟ ที่เผาไหม้ดับกิเลส ด้วยแสงแห่งธรรม ” สรวงสวรรค์แห่งพระธรรมคำสอนของพุทธองค์ ณ ขุนเขาวัดเขากำแพง แดนดินถิ่นยอดพระสุเมรุปล่องภูเขาไฟ ที่เผาไหม้กิเลส ดับทุกข์ในทรวงด้วยปริศนาธรรมคำสอนของพุทธองค์บรรจงสร้างองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยหินหยกล้ำค่างามตา ด้วยแสงความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธบารมีให้พุทธศาสนิกชนได้ขอพึ่งพรพระบารมีแห่งธรรม ทัศนาทิวทัศน์สัมผัสกลิ่นอายอารยธรรมล้ำยุค ก่อกำเนิดแผ่นดินโลกด้วยธรรมะแดนสวรรค์ชั้นนี้มีสระน้ำพุทธมนต์ สวนป่านานาพันธุ์ไม้โบราณประจำถิ่นฐานเบ่งบาน ชูช่อออกดอกส่งกลิ่นอบอวล เป็นเครื่องพุทธบูชาอยู่ประจำขุนเขาแห่งนี้ พุทธศาสนิกชนใดใฝ่รู้ธรรมชี้นำดวงชะตาด้วยแสงแห่งธรรมะหากมีบุญบารมีที่ดีพอต่อกัน ก็จะพบพระสงฆ์ผู้ทรงศีลอันงดงามทำนายทายทักด้วยหลักธรรม ช่วยดับทุกข์ในจิตใจได้หลุดพ้นเหตุแห่งทุกข์
ตามรอยพระอริยสงฆ์พระโสณเถระและพระอุตตระเถระ อัครสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเส้นทางรอยบุญศูนย์กลางพุทธศาสนาสมัยสุวรรณภูมิที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย สรวงสวรรค์ ปฐมปฐพี ในพระธรรมคำสอนของพุทธองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า วัดเขาดีสลัก แดนดินถิ่นธรรมะ “ เบญจอารามห้าขุนเขาทวารวดี ”
สรวงสวรรค์แห่งพระธรรมคำสอนของพุทธองค์ ณ ขุนเขาวัดดีสลัก แดนดินถิ่นพระพุทธบาทจำลองนูนล้ำค่าทางจิตใจ สัมผัสปริศนาธรรมอันยิ่งใหญ่ขอพรพระบารมีพระบรมสารีริกธาตุ กรุพระถ้ำเสือ นมัสการองค์มหาเจดีย์ศรีทวารวดีเมืองศรีอู่ทอง สถิตย์สถาพรอยู่บนยอดขุนเขาบารมีแห่งธรรมะอายุนับพันปี สัมผัสแดนดินถิ่นกำเนิดพุทธศาสนาขอพรพึ่งบารมีแห่งทานบูชาด้วยสระน้ำศักดิ์สิทธ์ ชมทิวทัศน์งามตามองเห็นทั่วหล้าดังปริศนาแห่งแสงธรรมของพุทธองค์ คุ้มครองผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบตามคำสอนพุทธองค์ชั้นสรวงสวรรค์แห่งขุนเขานี้มีสระปทุมสีแดง สวนหินเพิงผาหน้าถ้ำ พันธุ์ไม้นานาพันธุ์มีมณฑปที่หมู่เหล่าทวยเทพเทวดานางฟ้าบรรจงสร้างเสริมเติมแต่งด้วยแรงศรัทธาวิจิตรงดงามตา รวมกับสรวงสวรรค์เพื่อเป็นเครื่องพุทธบูชา พุทธศาสนิกชนที่มีบุญบารมีได้มาเยี่ยมยลก็สุขล้นด้วยเสน่ห์แห่งธรรม เก็บภาพความทรงจำไปช่วยกันเผยแผ่พระธรรมคำสอนอันบริสุทธิ์ของพุทธองค์ให้เป็นทานบารมี ในการเดินทางมากราบไหว้พระออมบุญห้าขุนเขาทวารวดีเมืองศรีอู่ทอง ให้เจริญยิ่งสืบไปตราบนานเท่านาน
เกรียงไกร ก่อเกียรติตระกูล ข่าว 081-4359473
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น